เกร็ดความรู้การเมือง




ประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ในประเทศไทย ถือได้ว่ามี การปฏิวัติ เกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และมีการกบฏเกิดขึ้น 12 ครั้ง และรัฐประหาร 8 ครั้ง ดังนี้



กบฏ 12 ครั้ง

1.กบฏ ร.ศ.130
2.กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)
3.กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)
4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482)
5. กบฏเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)
6.กบฏแบ่งแยกดินแดน (พฤศจิกายน 2491)
7.กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์2492)
8.กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494)
9.กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497)
10.กบฏ 26 มีนาคม 2520
11.กบฏยังเติร์ก (1-3 เมษายน 2524)
12.กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)

รัฐประหาร 8 ครั้ง

1.พ.อ.พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร (20 มิถุนายน 2476)
2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร (8 พฤศจิกายน 2490)
3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร (29 พฤศจิกายน 2494)
4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร (16 กันยายน 2500)
5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2501)
6. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (17 พฤศจิกายน 2514)
7.พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2520)
8.พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534)
9.คณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. ทำการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ที่มา : เวบ...รากฐานไทย ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ

สงครามครั้งนี้ใครคือผู้ชนะ !

28 สิงหาคม 2551

สูตรปั่น “ราคาน้ำมัน” ทำกำไร !!!



ปตท. มี “โรงกลั่นน้ำมัน” อยู่ 5 โรง จากทั้งประเทศที่มีอยู่ 7 โรง ทำให้ปั๊มน้ำมันส่วนใหญ่ไม่มีทางเลือกมากนัก เพราะหากอยากมีน้ำมันไว้ขายก็ต้องซื้อจาก ปตท. เป็นส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าจะเป็นโรงกลั่นของต่างประเทศอย่างยักษ์ใหญ่ “เซฟรอน” ที่ควบรวมกิจการกับยูโนแคลไปแล้ว ก็ต้องรับสัมปทานอีกต่อหนึ่งจาก ปตท.


เมื่อ มีสถานะผูกขาดธุรกิจ ย่อมมีอำนาจการคิดราคาขายหน้าโรงกลั่น โอกาสเช่นนี้ ราคาไหนที่สูงกว่าทำกำไรได้มากกว่า บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่าง ปตท. ย่อมต้องไขว่คว้า และเกาะติด ซึ่งกลายเป็นข้ออ้างที่ทำให้ ปตท. จำเป็นต้องขายน้ำมันแพงมาตลอด นั่นคือ “ราคาขายที่ตลาดสิงคโปร์” ผลก็คือ ปตท. รายได้เพิ่มขึ้นปีละ 15 % ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่คนไทยกำลังทุกข์ยากกับราคาน้ำมันที่แพงลิ่ว แต่ ปตท. กลับมีรายได้สูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท และ กำไรถึงเกือบ 1 แสนล้านบาท


ที่มาของกำไรของ ปตท. นอกจากเทคโนโลยีการกลั่นที่ดีขึ้น และการเทกโอเวอร์กิจการบริษัทน้ำมันและโรงกลั่นหลายแห่ง ของ “โสภณ สุภาพงษ์” ซึ่งเคยเป็นผู้บริหารบางจาก และวุฒิสมาชิก อธิบายว่า "ไทยนำเข้าน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากตะวันออกกลาง ซึ่งราคาจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบย่อมต่ำกว่าตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นในนิวยอร์ก ยุโรป และสิงคโปร์ ซึ่งตลาดเหล่านั้นเปรียบเหมือนตลาดหลักทรัพย์” ที่มีการซื้อขายหุ้นกันหลายรอบ จนราคาถูกปั่นสูงขึ้นเรื่อย ๆ หรือในบางวันอาจมีราคาลดลง แต่ส่วนใหญ่คือการปั่นให้มีราคาสูงขึ้นเกินจริง


ตัวอย่างเช่น น้ำมันดิบจากโอมานราคา 122 เหรียญต่อบาร์เรล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 หรือเท่ากับ 24.8 บาทต่อลิตร (การแปลงหน่วยบาร์เรลเป็นลิตร คำนวณจาก 1 บาร์เรล เท่ากับ 159 ลิตร ราคา 122 เหรียญเท่ากับ 3,904 บาท อัตราแลกเปลี่ยน 32 บาทต่อเหรียญ) เมื่อบวกค่าการกลั่นอีกประมาณ 1.5 บาทต่อลิตร ราคาขาย ณ โรงกลั่นควรเป็น 26.3 บาทต่อลิตร แต่เมื่อมีการอ้างความจำเป็นว่าต้องอิงราตลาดสิงคโปร์ที่มีการปั่นราคา น้ำมัน เพราะมีการเก็งกำไรจากการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าเป็นเดือน ทำให้ราคาขาย ณ โรงกลั่นสูงขึ้น


จาก โครงสร้างการผูกขาดธุรกิจพลังงานชนิดครบวงจร มาจนถึงการคำนวณราคาที่แพงทั้งที่มีทางเลือกคำนวณให้ถูกลงได้ แต่ ปตท. ยืนยันไม่เลือก ณ วันนี้จึงทำให้คนไทยได้บทเรียน และกำลังส่งสัญญาณชัดมายังก๊าซแอลพีจี และแม้จะมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ หากแต่อำนาจเหนือตลาดยังคงเป็นของ ปตท.

COMING SOON ...

ใคร...คือเจ้าของตัวจริง?

แล้วผลประโยชน์ทั้งหมดตกอยู่ในมือใคร?

กระชากหน้ากาก ปตท.
ตอนที่ 1 พลังงานเพื่อใคร?

26 สิงหาคม 2551

ปตท. พลังงานเพื่อใคร?

สโลแกนที่ว่า "ปตท. พลังงานไทยเพื่อไทย" อาจต้องเปลี่ยนเป็น "ปตท. พลังงานเพื่อใคร?" เมื่อคนไทยกำลังเดือดร้อนร้อนจากราคาน้ำมันแพงกันถ้วนหน้า แต่บิ๊กใน ปตท. กลับร่ำรวยกันถ้วนหน้า / ใครเจ้าของตัวจริงกันแน่ / ที่มาของสูตรราคาหายนะมาจากไหน ทำไมต้องอิงตลาดสิงคโปร์ / ทักษิณ ชินวัตร - ปตท. - ธุรกิจพลังงาน - เข้าพระวิหารและเกาะกง จึงเป็นเรื่องเดียวกัน

"ต้นทุน" ชีวิตของคนไทยพุ่งขึ้นตลอดช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา มีสาเหตุชัดเจนมาจาก ปัญหา "ราคาน้ำมันแพงกระฉูด" ชีวิตหยุดไม่อยู่


แต่ไม่สำคัญเท่ากับว่า ขณะที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่เดือดร้อนอย่างหนัก และบริษัทส่วนใหญ่ต่างต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจจากราคน้ำมันแพง ภาวะเงินเฟ้อ ปตท. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานที่เคยเป็นความหวังของคนไทยกลับเติบโตส่วนวิกฤตยิ่งคนไทยต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงมากขึ้นเท่าไหร่ "ตัวเลขกำไร" ปตท. ยิ่งเพิ่มขึ้นทุกไตรมาสในทุกปี

จากเมื่อก่อนน้ำมันเบนซิน 91 หรือ ดีเซล ผู้ใช้เคยจ่าย ลิตรละ 11 - 13 บาท เมื่อปี 2543 มาทุกวันนี้เราจ่ายกัน ลิตรละ 40 - 42 บาท เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า จึงเป็นเหตุให้เดือดร้อนกันไปถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็น ภาคขนส่ง ธุรกิจ อตสาหกรรม รวมทั้งประชาชนอย่าง เรา ๆ ที่ต้องแบกรับต้นทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น จนต้องขึ้นค่าขนส่งและราคาสินค้า

ปตท. ยังผูกขาดธุรกิจก๊าซ NGV และ LPG โดยพร้อมทุ่มลงทุนเต็มที่ 5 ปีนับจากนี้ ด้วยงบกว่า 1.7 แสนล้านบาท และยังออกแรงดันเด็มที่กับ "ไบโอดีเซล" และ "เอทานอล" ไม่ว่าจะเป็น E20 และ E85 ที่ปตท. มีสิทธิผูกขาดรับซื้อจากผู้ผลิตแอลกอฮอล์เพียงรายเดียว โดยมีกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั้งค่ายซีพี และค่ายแอลกอฮอล์ยักษ์ใหญ่อย่างไทยเบฟเวอเรจ เบียร์ช้าง ตระกูลภิรมย์ภักดี ร่วมกับบุคคลและธุรกิจในเครือข่ายของอดีตนายกรัฐมนตรี อย่างพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และค่ายมิตรผล และเทมาเส็ก ทนจากสิงค์โปร์ก็พร้อมโดดเข้ามาตลาดเต็มที

ความหอมหวานของธุรกิจพลังงานยังเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับสาเหตุที่ไทยต้องเสียดินแดนเขาพระวิหารเพื่อนแลกกับเกาะกง ที่เชื่อว่าเป็นพลังงานแห่งใหม่ในเขมร ที่ผู้นำเขมรออกมายอมรับว่าพ.ต.ท. ทักษิณ พร้อมเข้าไปลงทุนธุรกิจพลังงานในเขมร และยังมีการเปิดโปงข้อมูลอีกว่า การซื้อเกาะกงของทักษิณ ทำในนาม "นิติบุคคล" หาใช่ในนามของรัฐ


นี้แค่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด


TO BE CONTINUE!!!

19 สิงหาคม 2551

เงิน + อำนาจ ≠ ความยุติธรรม



จากกรณี นาย
วัฒนา อัศวเหม ที่ตกเป็นจำเลยในคดี

ทุจริตซื้อที่ดินก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย

และศาลตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 10 ปี



แต่กลับหลบหนีอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่รัฐบาลไทย

ไม่สามารถแม้ที่จะตรวจสอบการเคลื่อนไหวของ นายวัฒนา ได้


ในการขอส่งผู้ร้ายผ่านแดน จำเป็นต้องมีสนฐิสัญญาระหว่างไทยกับต่างประเทศ


และรัฐบาลเราจะต้องดำเนิน ไปยังประเทศนั้นๆ เพื่อขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน




ฉะนั้น สมมติหากรู้แหล่งกบดาน รัฐบาลเราทำไมไม่ดำเนินการ

ใด ๆ เลย เพราะเหตุใด

เมื่อบุคคลนั้นมีทั้ง

เงิน
และ อำนาจ



จะสามารถอยู่เหนือความยุติธรรม จริงหรือไม่?

14 สิงหาคม 2551

1 เสียง 1 นโยบาย ( 1 vote 1 policy )



การที่รัฐบาลจะออกนโยบายจะต้องคำนึงถึง Demands และ Support

และกลั่นกรองออกมาเป็นนโยบาย เพื่อสนองความต้องการ

เช่นนั้นแล้ว การจะออกนโยบายมานั้นเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งต่อ การบริหารประเทศให้สงบสุข

และ กระจายทรัพยากรสู่ประชาชนอย่างเท่าเทียม โดยไม่เอื้อประโยชน์พวกพร่อง


หากเรามี 1 เสียงที่สามารถออกนโยบาย เราจะออกนโยบายอะไร (เพียง 1 นโยบาย) ?


When government lunch policy, government must concern Demands and Support

and process them for responding demand.

Then, government has to fairness allocate resources to people.

So, if you have 1 vote and you can lunch policy,

what policy do you lunch ?

มุมสบาย สบาย คลายเครียด