
ปตท. มี “โรงกลั่นน้ำมัน” อยู่ 5 โรง จากทั้งประเทศที่มีอยู่ 7 โรง ทำให้ปั๊มน้ำมันส่วนใหญ่ไม่มีทางเลือกมากนัก เพราะหากอยากมีน้ำมันไว้ขายก็ต้องซื้อจาก ปตท. เป็นส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าจะเป็นโรงกลั่นของต่างประเทศอย่างยักษ์ใหญ่ “เซฟรอน” ที่ควบรวมกิจการกับยูโนแคลไปแล้ว ก็ต้องรับสัมปทานอีกต่อหนึ่งจาก ปตท.
เมื่อ มีสถานะผูกขาดธุรกิจ ย่อมมีอำนาจการคิดราคาขายหน้าโรงกลั่น โอกาสเช่นนี้ ราคาไหนที่สูงกว่าทำกำไรได้มากกว่า บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่าง ปตท. ย่อมต้องไขว่คว้า และเกาะติด ซึ่งกลายเป็นข้ออ้างที่ทำให้ ปตท. จำเป็นต้องขายน้ำมันแพงมาตลอด นั่นคือ “ราคาขายที่ตลาดสิงคโปร์” ผลก็คือ ปตท. รายได้เพิ่มขึ้นปีละ 15 % ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่คนไทยกำลังทุกข์ยากกับราคาน้ำมันที่แพงลิ่ว แต่ ปตท. กลับมีรายได้สูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท และ กำไรถึงเกือบ 1 แสนล้านบาท
ที่มาของกำไรของ ปตท. นอกจากเทคโนโลยีการกลั่นที่ดีขึ้น และการเทกโอเวอร์กิจการบริษัทน้ำมันและโรงกลั่นหลายแห่ง ของ “โสภณ สุภาพงษ์” ซึ่งเคยเป็นผู้บริหารบางจาก และวุฒิสมาชิก อธิบายว่า "ไทยนำเข้าน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากตะวันออกกลาง ซึ่งราคาจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบย่อมต่ำกว่าตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นในนิวยอร์ก ยุโรป และสิงคโปร์ ซึ่งตลาดเหล่านั้นเปรียบเหมือนตลาดหลักทรัพย์” ที่มีการซื้อขายหุ้นกันหลายรอบ จนราคาถูกปั่นสูงขึ้นเรื่อย ๆ หรือในบางวันอาจมีราคาลดลง แต่ส่วนใหญ่คือการปั่นให้มีราคาสูงขึ้นเกินจริง
ตัวอย่างเช่น น้ำมันดิบจากโอมานราคา 122 เหรียญต่อบาร์เรล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 หรือเท่ากับ 24.8 บาทต่อลิตร (การแปลงหน่วยบาร์เรลเป็นลิตร คำนวณจาก 1 บาร์เรล เท่ากับ 159 ลิตร ราคา 122 เหรียญเท่ากับ 3,904 บาท อัตราแลกเปลี่ยน 32 บาทต่อเหรียญ) เมื่อบวกค่าการกลั่นอีกประมาณ 1.5 บาทต่อลิตร ราคาขาย ณ โรงกลั่นควรเป็น 26.3 บาทต่อลิตร แต่เมื่อมีการอ้างความจำเป็นว่าต้องอิงราตลาดสิงคโปร์ที่มีการปั่นราคา น้ำมัน เพราะมีการเก็งกำไรจากการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าเป็นเดือน ทำให้ราคาขาย ณ โรงกลั่นสูงขึ้น
จาก โครงสร้างการผูกขาดธุรกิจพลังงานชนิดครบวงจร มาจนถึงการคำนวณราคาที่แพงทั้งที่มีทางเลือกคำนวณให้ถูกลงได้ แต่ ปตท. ยืนยันไม่เลือก ณ วันนี้จึงทำให้คนไทยได้บทเรียน และกำลังส่งสัญญาณชัดมายังก๊าซแอลพีจี และแม้จะมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ หากแต่อำนาจเหนือตลาดยังคงเป็นของ ปตท.
COMING SOON ...
ใคร...คือเจ้าของตัวจริง?
แล้วผลประโยชน์ทั้งหมดตกอยู่ในมือใคร?
ใคร...คือเจ้าของตัวจริง?
แล้วผลประโยชน์ทั้งหมดตกอยู่ในมือใคร?
กระชากหน้ากาก ปตท.
ตอนที่ 1 พลังงานเพื่อใคร?
ตอนที่ 1 พลังงานเพื่อใคร?